วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของภาพวาด
   1. ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่






การวาดภาพหุ่นนิ่ง (Still life Drawing)
ในชีวิตจริงของคนเราเมื่อต้องการจะแสดงออกทางด้านการวาดภาพก็มักจะนึกถึงสิ่งที่ตนเคยพบ
เคยเห็นจากของจริงมาก่อน จึงสามารถสังเกตและจดจ าลักษณะของสิ่งเหล่านั้นน ามาถ่ายทอดรูปแบบออกมาเป็นภาพใดๆได้  ลักษณะการถ่ายทอดที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือการวาดเส้นเพราะสามารถหาวัสดุและอุปกรณ์ได้ง่ายและใช้กระบวนการไม่ซับซ้อน จึงเป็นวิธีการที่นิยมใช้วาดภาพในลักษณะต่างๆ ส าหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึกการวาดภาพก็ต้องพยายามใช้เส้นวาดลากให้เกิดรูปร่าง รูปทรงที่ต้องการจะถ่ายทอดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ และการฝึกวาดหุ่นนิ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานของการเริ่มวาดภาพ Drawing อย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นการเริ่มฝึกขบวนการทั้งหมดที่จะพัฒนาไปสู่การวาดภาพประเภทอื่นต่อไป
      ความหมายของหุ่นนิ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมาย คำว่า “หุ่นนิ่ง” เป็นคำนามเรียกภาพวาดหรือภาพถ่ายของสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหวว่า ภาพหุ่นนิ่ง.การวาดเส้นหุ่นนิ่ง (STILL –LIFE)  คือการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่นมาจัดขึ้น โดยขอบเขตของหุ่นไม่มากนักเป็นการจัดขึ้นเองตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการจะฝึกฝน และต้องการจะถ่ายทอดความหมายการวาดภาพหุ่นนิ่งเป็นพื้นฐานที่ส าคัญอย่างหนึ่งของการวาดภาพสร้างสรรค์อื่นๆเพราะต้องฝึกการสังเกตุ และพิจารณาทั้งขนาดสัดส่วน รูปทรง รูปร่าง เส้น สีน้ำหนักแสง เงาและมุมมอง 
ประเภทของหุ่นนิ่ง  สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2ลักษณะคือ
      1.หุ่นนิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติ หมายถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
สามารถน าส่วนหนึ่งส่วนใดมาจัดเป็นหุ่นเพื่อการฝึกฝนในการวาดภาพได้แก่ ดอกไม้ ผลไม้ เป็นต้น
      2. หุ่นนิ่งที่ได้มาจากสิ่งของที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นโดยทั่วไปเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจ าวันซึ่งจะมรูปร่างและรูปทรงที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของวัสดุ และประเภทของการใช้สอย ได้แก่ โต๊ะ  
เก้าอี้  พัดลม  มีด  จาน  ช้อน  ขวด  ตะเกียงเป็นต้น
         สำหรับการวาดเส้นเริ่มแรก หุ่นนิ่งถือเป็นแบบในการฝึกหัดวาดเส้นที่สำคัญ เพราะเป็นการนำสิ่งต่าง ๆ ที่อยากทดลองวาดมาวางและเริ่มวาดได้เลย ตามความต้องการของผู้วาด นับว่าสามารถอำนวยความสะดวกในการฝึกฝนการวาดเส้นได้ดี เนื่องจากการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่รอบตัวมาเป็นแบบได้ทันที มีอิสระในการเลือก ในการจัด กำหนดตำแหน่งที่วางหุ่นได้เฉพาะที่ หากวาดไม่เสร็จสามารถเก็บไว้จัดวางใหม่ได้เหมือนเดิม หุ่นนิ่งจึงเป็นแบบเบื้องต้นที่ผู้เริ่มฝึกวาดเส้นนิยมใช้กันทั่วไป ส่วนผู้ที่ฝึกฝนวาดเส้นจนช านาญแล้วหุ่นนิ่งก็ยังเป็นแบบที่สำคัญเพื่อการศึกษาเรื่องเส้น การจัดองค์ประกอบของภาพ 
น้ำหนัก และการแสดงออกจากความประทับใจ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหลากหลายของหุ่นแลลักษณะการจัดสามารถกำหนดได้เองตามความถนัดและความสนใจจึงท าให้ผลงานวาดเส้นหุ่นนิ่งมีมากรูปแบบโดยทั่วไปแล้วหลักสำคัญของการวาดเส้นหุ่นนิ่ง ที่ควรคำนึงถึงคือ การเลือกรูปแบบหุ่นนิ่งที่เหมาะสม
           การกำหนดแสงเงา
การกำหนดแสงเงาในวัตถุเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้หุ่นนิ่งสวยงามและน่าสนใจ โดยหลักการทางศิลปะทิศทางที่แสงตกกระทบหุ่นสามารถกำหนดแสงได้ หลายลักษณะ คือ
            - แสงสว่างที่สุด (Highlight) อยู่ในส่วนที่รับแสงโดยตรง
             - แสงสว่าง (Light) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสง
             - เงา (Shadow) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสงน้อยมาก
             - เงามืด (Core of Shadow) อยู่ในส่วนที่ไม่ได้รับอิทธิพลของแสงเลย
             - แสงสะท้อน (Reflects Light) บริเวณของวัตถุที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง แต่เป็นการสะท้อนของ
แสงจากวัตถุใกล้เคียง
             - เงาตกทอด (Cast Shadow) บริเวณที่เงาของวัตถุนั้น ๆ ตกทอดไปตามพื้นหรือตามวัตถุอื่นที่
รองรับน้ าหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน
          ความสวยงามของวัตถุ และรูปทรงของหุ่นนิ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับแสงเงา เพราะเป็นส่วนสะท้อน
ภาพความจริงให้รับรู้ได้ด้วยตาสัมผัส ผลงานทางศิลปะจึงมักใช้แสง – เงา เป็นส่วนช่วยเน้นความสำคัญ การกำหนดแสงเงาสำหรับหุ่นนิ่งก็มีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่วาดเส้นได้ดีแม้หุ่นนิ่งจะไม่มีแสงเงาที่
ชัดเจน ก็สามารถสร้างแสงเงาขึ้นเองจากความช านาญโดยการฝึกสังเกตอย่างต่อเนื่อง แต่ส าหรับการจัดหุ่นนิ่งให้มีแสงเงานั้นควรเลือกใช้แสงจากแหล่งธรรมชาติ คือแสงอาทิตย์ การจัดหุ่นนิ่งจึงควรวางหุ่น ใกล้ช่องทางแสง

             สำหรับผู้ที่เริ่มวาดภาพหุ่นนิ่งนั้นมีขั้นตอนการวาดดังนี้คือ
1.กำหนดพื้นที่หรือขอบเขตทั้งหมดของหุ่นให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ
2.กำหนดต าแหน่งของวัตถุภายในโดยให้มีวัตถุหลัก 1 ชิ้น ไว้คอยกำหนดสัดส่วนกับวัตถุชิ้นอื่น้
3.ร่างภาพคร่าวๆ
4.ดูตำแหน่งสัดส่วนให้ถูกต้อง ปรับปรุงแก้ไขโดยเปรียบเทียบกับวัตถุหลักว่าโตเกินไป เล็กไปหรือตำแหน่ง
สูงต่ำถูกต้องหรือไม่
5. ให้น้ำหนักแสงเงาแบบรวมๆ ภาพหุ่นนิ่งนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของพื้นหลัง ฉะนั้นหาก
ต้องการให้วัตถุโดยรวมเป็นน้ าหนักอ่อน พื้นหลังก็ควรจะเป็นน้ าหนักเข้ม หรือหากวัตถุเข้ม พื้นหลังก็ควรจะ
อ่อน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเรื่องราวที่จะน าเสนอ ดูว่าลงน้ าหนักไปแล้วงานดูมีบรรยากาศ
หรือไม่ เพื่อให้งานที่ออกมามีความเหมาะสม
6.การเพิ่มรายละเอียดของวัตถุ เป็นการตรวจดูองค์ประกอบหุ่นนิ่งที่เป็นรูปทรงของวัตถุที่มีความสัมพันธ์กันกับแสงเงา  ตามต าแหน่งที่จัดวางอยู่ โดยเพิ่มลักษณะของพื้นผิววัตถุให้สวยงาม
7.ปรับปรุงแก้ไขจนภาพเสร็จสมบูรณ์อย่างไรก็ตามการวาดเส้นภาพหุ่นนิ่งนับว่า เป็นการเริ่มต้นในการฝึกทักษะของผู้ที่เรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น